วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สิ่งแวดล้อม

                        
สิ่งแวดล้อม
คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์
ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม
(สามารถจับต้องและมองเห็นได้)
และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ)
มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง
อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจร
และวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ


สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ




  • 1 สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
    เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร






















  • 2 สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
    เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม
    ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม























  • ที่มา :: รวบรวมจากหนังสือเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม











  • กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม








  •            
                                             องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม
                   สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์  ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีองค์ประกอบ 3  ประการดังนี้        
                      1.   ลักษณะภูมิประเทศ
                      2.   ลักษณะภูมิอากาศ
                      3.  ทรัพยากรธรรมชาติ
    ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ
                1.  พลังงานภายในเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกผันแปร  บีบอัดให้ยกตัวสูงขึ้น  กลายเป็นภูเขาที่ราบสูง  หรือทรุดต่ำลง  เช่น เหว  แอ่งที่ราบ
                 2.  ตัวกระทำทางธรรมชาติภายนอกเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกเกิดการสึกกร่อนพังทลายหรือทับถม  ได้แก่  ลม  กระแสน้ำ ธารน้ำแข็ง
                 3.   การกระทำของมนุษย์  เช่น  การสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทาน   การตัดถนนเข้าไปในป่า  ทำให้ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่นั้นๆเปลี่ยนไปจากเดิม
    ความสำคัญของลักษณะภูมิประเทศ
              1.  ความสำคัญต่อมนุษย์  ลักษณะภูมิประเทศมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน  การประกอบอาชีพของมนุษย์  เช่น  ที่ราบลุ่มแม่น้ำ
                2.  ความสำคัญต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น  ภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูง  ย่อมมีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศของท้องถิ่น  เช่น  ทำให้เกิดเขตเงาฝน
               3.   ความสำคัญต่อทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  เขตเทือกเขาสูง  ย่อมอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ  ป่าไม้และสัตว์ป่า
    ประเภทของลักษณะภูมิประเทศ
              ลักษณะภูมิประเทศจำแนกได้ 2 ประเภท  ดังนี้
                     1.  ลักษณะภูมิประเทศอย่างใหญ่  เห็นได้ชัดและเกิดในอาณาบริเวณที่กว้างขวาง  เป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวภายในของเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกยกตัวขึ้นสูงหรือทรุดต่ำลง  โดยคงลักษณะเดิมไว้นานๆ  เช่น  ที่ราบ  ที่ราบสูง  เนินเขา  และภูเขา
                    2.   ลักษณะภูมิประเทศอย่างย่อย  มีอาณาบริเวณไม่กว้างนัก  อาจเปลี่ยนแปลงรูปได้  มักเกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง  กระแสลม คลื่น  เช่น  แม่น้ำ ทะเลสาบ  อ่าว  แหลม  น้ำตก
    ประเภทของที่ราบ แบ่งตามลักษณะของการเกิด
               1.  ที่ราบดินตะกอน  พบตามสองฝั่งของแม่น้ำ  เกิดจาการทับถมของดินตะกอนที่น้ำพัดพา
               2.  ที่ราบน้ำท่วมถึง  เป็นที่ราบลุ่มในบริเวณแม่น้ำ  มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน  เกิดจากการทับถมของดินตะกอนหรือวัสดุน้ำพา
               3.  ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำบริเวณปากแม่น้ำ  เกิดจากการทับถมของโคลนตะกอนวัสดุน้ำพาจนกลายเป็นที่ราบรูปพัด
               4.  ลานตะพักลำน้ำ  คือ  ที่ราบลุ่มแม่น้ำอีกประเภทหนึ่ง  แต่อยู่ห่างจากสองฝั่งแม่น้ำออกไป  น้ำท่วมไม่ถึง  ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์  บางที่เรียกว่า  ที่ราบขั้นบันได
    ความสำคัญของภูมิอากาศ
              1.  ความสำคัญที่มีต่อลักษณะภูมิประเทศ  ภูมิอากาศทำให้ท้องถิ่นมีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
                 2.  ความสำคัญที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  ภูมิอากาศร้อนชื้น  ฝนชุก  จะมีทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าบางชนิดชุกชุม
                 3.  ความสำคัญที่มีต่อมนุษย์  ภูมิอากาศย่อมมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่  การแต่งกาย  บ้านเรือน
    ปัจจัยที่มำให้ภูมิอากาศของท้องถิ่นต่างๆมีความแตกต่างกัน
                  1.  ที่ตั้ง  คือ  ละติจูดของพื้นที่
                  2.  ลักษณะภูมิประเทศ  คือ  ความสูงของพื้นที่
                  3.  ทิศทางลมประจำ  เช่น  ลมประจำปี
                  4.   หย่อมความกดอากาศ
                  5.   กระแสน้ำในมหาสมุทร
    ที่ตั้ง  หรือ ละติจูดของพื้นที่
               ละติจูดของพื้นที่มีผลต่อปริมาณความร้อนที่ได้รับจากแสงอาทิตย์  ดังนี้
                      1.  เขตละติจูดต่ำ  ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปี  จึงมีอากาศร้อน
                         2.  เขตละติจูดสูง  ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์  ความร้อนที่ได้รับมีน้อย  จึงเป็นเขตอากาศหนาวเย็น
                        3.  เขตละติจูดปานกลาง  ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์มากน้อยตามฤดูกาล  จึงมีอากาศอบอุ่น
    ความอยู่ใกล้  หรือไกลทะเล
                 มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น  ดังนี้
                       1.พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเล  จะได้รับอิทธิพลจากพื้นน้ำ  ทำให้ฝนตกมากและอากาศเย็น
                       2.พื้นที่ที่อยู่ไกลทะเล   เช่น  อยู่กลางทวีป  อากาศจะแห้งแล้ง
    ความสูงของพื้นที่  มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น
              พื้นที่ยิ่งสูงอากาศยิ่งหนาวเย็น  เนื่องจากความร้อนที่ผิวพื้นโลกได้รับจากดวงอาทิตย์จะแผ่สะท้อนกลับสู่บรรยากาศ  ดังนั้นบริเวณที่อยู่ใกล้พื้นผิวโลกจึงมีความร้อนมาก
    การขวางกั้นของเทือกเขาสูง
                มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น    ถ้าเทือกเขาสูง  วางตัวกั้นทิศทางของลมประจำ  เช่น  ลมมรสุมฤดูฝน  จะเป็นผลให้ด้านหน้าของเทือกเขาได้รับความชุ่มชื้น  มีฝนตกชุก ส่วนด้านหลังของเทือกเขาเป็นเขตอับลมฝนแห้งแล้ง ที่เรียกกันว่า  เขตเงาฝน
    การจำแนกเขตภูมิอากาศโลกตามวิธีการของเคิปเปน
                เคิปเปน  นักภูมิอากาศวิทยาชาวออสเตรีย  ได้กำหนดประเภทภูมิอากาศของโลกออกเป็น 6 ประเภท  โดยกำหนดสัญลักษณ์เป็นภาษาอังกฤษ  ดังนี้
                    1.  แบบร้อนชื้น (a)  มีอุณหภูมิสูงตลอดทั้งปี  ฝนตกชุก  พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ
                   2.  แบบแห้งแล้ง (b)  มีอุณหภูมิสูง  แห้งแล้ง มีฝนตกน้อยมาก  พืชพรรณเป็นพืชทะเลทราย
                   3.  แบบอบอุ่น  หรือชื้น อุณหภูมิปานกลาง (c)  อากาศอบอุ่น  อุณหภูมิปานกลาง  พืชพรรณเป็นป่าไม้ผลัดใบเขตอบอุ่น
                   4.  แบบหนาวเย็น  อุณหภูมิต่ำ  (d) อากาศหนาวเย็น  อุณหภูมิต่ำ  พืชพรรณเป็นป่าผลัดใบเขตอบอุ่น  ป่าเขตหนาว  และทุ่งหญ้าแพรี
                   5.  แบบขั้วโลก (e)  อากาศหนาวเย็นมากที่สุด อุณหภูมิต่ำมาก  พืชพรรณเป็นหญ้ามอส  และตะไคร่น้ำ
                 6. แบบภูเขาสูง  (h) เป็นลักษณะภูมิอากาศแบบพิเศษ  พบในเขตภูเขาสูง  มีภูมิอากาศหลายแบบทั้ง a, c, d  อยู่ร่วมกันตามระดับความสูงของภูเขา  ยิ่งสูงอากาศยิ่งหนาว  พืชพรรณธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูงของพื้นที่
    หลักเกณฑ์การแบ่งเขตภูมิอากาศของเคิปเปน
               เคิปเปน  มีหลักเกณฑ์การพิจารณา 3 ประการ  ดังนี้
                      1.  อุณหภูมิของอากาศในท้องถิ่น
                     2.  ปริมาณฝนของท้องถิ่น
                     3.  ลักษณะพืชพรรณของท้องถิ่น
    ทรัพยากรธรรมชาติ
               ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์  มี 4 ประเภท  ดังนี้
                        1. ดิน                         2.  น้ำ                        3. แร่ธาตุ                         4.  ป่าไม้
    ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                1.  การเพิ่มของจำนวนประชากร  ทำให้การบริโภคทรัพยากรสิ้นเปลืองอย่างรวดเร็ว
                 2.  การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่  เช่น  เลื่อยไฟฟ้าตัดไม้ในป่า
                 3.  การบริโภคฟุ่มเฟือย  ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  สนับสนุนให้ประชาชนมีวัฒนธรรมการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย  ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติสูญสิ้นอย่างรวดเร็ว
    ปัจจัยที่ทำให้ดินในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน
                 ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์   ประกอบด้วย  อนินทรีย์วัตถุ  มีร้อยละ  45 อินทรีย์วัตถุ  มีร้อยละ 5  น้ำร้อยละ 25  และอากาศร้อยละ  25  ปัจจัยที่ทำให้ดินในแต่ละท้องถิ่นมีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน  คือ
                      1.  ลักษณะภูมิประเทศ  พื้นที่ลาดชันมาก  การสึกกร่อนพังทลายของดินมีมาก
                2.   ลักษณะภูมิอากาศ  ในเขตร้อนชื้น  ฝนตกชุก    การชะล้างของดินและการผุพังสลายตัวของแร่ธาตุ  ซากพืชซากสัตว์ในดินจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพเร็ว
                    3.  สัตว์มีชีวิตในดิน  เช่น  ไส้เดือน  จุลินทรีย์ในดิน  จะช่วยย่อยซากพืชซากสัตว์  ทำให้ดินได้รับฮิวมัสเพิ่มมากขึ้น
    ปัจจัยสำคัญที่ควบคุมความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำ
                 1.  น้ำบนดิน  ได้แก่  แม่น้ำ  ลำคลอง  หนอง  บึง
                 2.  น้ำใต้ดิน หมายถึง  น้ำบาดาล  ปริมาณน้ำใต้ดินจะมีมากน้อย ขึ้นกับ
                      -  ปริมาณฝนของพื้นที่นั้นๆ
                      -  ความสามารถในการเก็บกักน้ำของชั้นหินใต้พื้นดิน
    ประเภทของแร่ธาตุ
               1.  แร่โลหะ  คือแร่ที่ประกอบด้วยธาตุโลหะ   มีความวาวให้สีผงเป็นสีแก่  ได้แก่  xxxีบุก  ทังสเตน  พลวง
               2.  แร่อโลหะ  คือแร่ที่ไม่มีความวาวแบบโลหะ  ให้สีผงเป็นสีอ่อน ได้แก่  ดินขาว หินปูน  หินอ่อน
               3.  แร่เชื้อเพลิง  คือแร่ที่มีสารประกอบประเภทไฮโดรคาร์บอน  ทำเป็นเชื้อเพลิง  ได้แก่  น้ำมันปิโตรเลียม  ก๊าซธรรมชาติ
               4.  แร่นิวเคลียร์    คือแร่ที่นำมาใช้ในกิจการพลังงานปรมาณู  เช่น  ยูเรเนียม
    การจำแนกประเภทของป่าไม้
              1.  ป่าไม้ไม่ผลัดใบ  มีใบเขียวตลอดปี  พบในเขตฝนชุก  มี 4 ชนิด  ดังนี้
                     1.1  ป่าดงดิบ  มีลักษณะเป็นป่ารกทึบ
                     1.2  ป่าดิบเขา  มีลักษณะคล้ายป่าดงดิบ
                     1.3  ป่าสนเขา  เป็นไม้สน  ขึ้นในเขตภูเขาสูง
                     1.4  ป่าชายเลน  ขึ้นตามชายฝั่งทะเลที่มีหาดเลน  บางที่เรียกว่า  ป่าเลนน้ำเค็ม
               2.  ป่าไม้ผลัดใบเป็นป่าไม้ที่ผลัดใบในฤดูแล้ง  มี   2 ชนิด  ดังนี้
                    2.1  ป่าเบญจพรรณ  เป็นป่าโปร่ง  ผลัดใบในฤดูแล้ง
                    2.2  ป่าแดง  เป็นป่าโปร่ง  มีทุ่งหญ้าสลับทั่วไป
    http://www.bbc07geo.ob.tc/58.htm